Nepenthes “chang”

Nepenthes “chang” หม้อข้าวหม้อแกงลิงเกาะช้าง

Picture 030

หลังจากสำรวจหม้อข้าวหม้อแกงลิงบนฝั่งของ จ.ตราด เสร็จเรียบร้อยภายใน 1 วัน วันถัดมา ผมกับมาร์ซีก็เดินทางข้ามไปยังเกาะช้าง โดยเดินทางตั้งแต่ 8 โมงเช้า เมื่อไปถึงเกาะก็ขับรถต่อไปยังจุดที่จะเดินขึ้นยอดเขา ซึ่งมาร์ซี ได้เคยมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีก่อน และคาดว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิง ที่เขาพบจะเป็นชนิดใหม่ จึงย้อนมาดูเพื่อให้แน่ใจ เพราะครั้งก่อนที่เขามาเป็นช่วงต้นปี หม้อข้าวหม้อแกงลิงส่วนใหญ่ก็เลยเหี่ยวและมีหม้อให้เห็นไม่มากนัก

หลังจากที่พวกเราเดินขึ้นเขาไปกว่าชั่วโมง ทั้งความร้อน ความเหนื่อย เหงื่อไหลไคลย้อย ไม่ต่างกับเพิ่งอาบน้ำเสร็จใหม่ ๆ ผิดก็แต่ ไม่รู้สึกเย็นเลยสักนิด แต่ความเหนื่อยล้าและความอ่อนเพลียก็มลายหายไป เมื่อพวกเราเดินทางมาถึง จุดที่พบหม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งอยู่ในระดับความสูงประมาณ 230 ม. จากระดับน้ำทะเล

นิเวศวิทยา ถือเป็นความแตกต่างที่สำคัญประการแรกในการจำแนกหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้กับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่น ๆ เพราะเกือบทุกชนิดที่พบในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีนิเวศวิทยาป่าพรุ, บนยอดภู, ในทุ่งหญ้าสะวันนา หรือแม้แต่ในเกาะกลางทะเล ทั้งหมดจะมีนิเวศวิทยาบนพื้นราบ มีเพียงชนิดนี้ชนิดเดียว ที่อยู่ตามหน้าผาสูง และที่ลาดชันงอกจากซอกหิน ซึ่งผมยังไม่ทราบว่าเป็นหินชนิดใด แต่ได้เก็บตัวอย่างหินเพื่อนำมาตรวจสอบแล้ว แต่ยังไม่ทราบชนิด

Picture 017 Picture 010

Picture 014

หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงอีก 3 ชนิดที่พบในประเทศไทย คือ N. kampotiana บนฝั่งจ.ตราด, N. smilesii จากยอดภูทางภาคอีสาน และ N. kongkandana จากภาคใต้ ซึ่งมีลำต้นทรงกระบอก เจริญเติบโตบนดิน เมื่อเจริญเติบโตจนเข้าสู่ระยะเถาเลื้อย จะพันเกี่ยวกับพุ่มไม้ใกล้ ๆ เพื่อพยุงลำต้น ใบรูปแถบแกมรูปขอบขนาน ไม่มีก้านใบ โคนใบโอบลำต้น มีครีบยืดออกมากจากโคนใบโอบลำต้นจนรอบ รากเป็นเหง้าปม ส่วนความแตกต่างระหว่าง ทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวกับชนิดนี้ ยังเป็นความลับ เพราะเป็นส่วนสำคัญที่มาร์ซีจะใช้ในการจำแนกชนิด และประกาศเป็นชนิดใหม่ต่อไปในอนาคต

Picture 008 Picture 004 Picture 006

ในส่วนของหม้อก็เช่นเดียวกัน มีลักษณะโดยรวมใกล้เคียงกับ 3 ชนิดดังกล่าว กล่าวคือ หม้อล่าง ทรงกระเปาะที่ก้นหม้อ 2 ใน 3 ส่วน ด้านบนทรงกระบอก ผนังด้านนอกหม้อมีพื้นสีเขียวอ่อนถึงสีครีมอ่อน มักมีแต้มประสีส้มแดงโดยทั่วไป บางครั้งก็เป็นสีเขียวอ่อน หรือสีครีมตลอดทั้งหม้อ มีครีบ 1 คู่ทางด้านหน้า ยาวตั้งแต่ขอบปากหม้อจนถึงก้นหม้อ ผนังด้านในมีสีอ่อนกว่า อาจมีหรือไม่มีจุดประในลักษณะเช่นเดียวกัน ปากหม้อกลม เฉียงขึ้นไปทางด้านหลัง ขอบปากหม้อทรงกระบอก มีตั้งแต่สีเหลือง สีเขียวอ่อน ไปจนถึงสีแดงสด ขอบปากหม้อทางด้านหลัง ยกสูงขึ้นเป็นคอ ฝาหม้อมีสีเดียวกับผนังด้านนอกหม้อ แต่มักไม่มีจุด ไม่มีเดือยใต้ฝาหม้อ จุกเดี่ยว

Picture 032 Picture 003 Picture 005

Picture 007 Picture 009 Picture 012

Picture 015 Picture 016 Picture 019

Picture 021 Picture 028 Picture 029

Picture 018

หม้อบน ทรงกรวยยาว ครีบหดเล็กลงเหลือเป็นแนวเส้นเท่านั้น ผนังด้านนอกหม้อมีสีเขียวอ่อน ไม่มีจุดประ หากอาจมีประสีส้มอ่อนทั่วไป ไม่ฉูดฉาดเหมือนกับหม้อล่าง ผนังด้านในหม้อมักยังมีจุดประอยู่ ขอบปากหม้อรูปทรงไม่แตกต่างจากหม้อล่าง แต่มีเพียงสีเขียวอ่อนเท่านั้น สายหม้อม้วนที่บริเวณกึ่งกลางของความยาวสายหม้อใช้พันเกี่ยวกับกิ่งไม้

Picture 025 Picture 027 Picture 001

Picture 002 Picture 022  

Picture 026

ช่อดอก เป็นช่อกระจะ มีขนสีน้ำตาลจำนวนมาก กลีบดอกรูปรี ดอกตัวผู้ก้านดอกเป็นคู่ ดอกตัวเมียก้านดอกเดี่ยว ออกดอกในช่วงเดือน กรกฏาคม-กันยายยน เมื่อดอกเพศเมียได้รับการผสมเกสร ก็จะพัฒนากลายเป็นผลและเมื่อแห้งเป็นสีน้ำตาล ฝักก็จะแตกออก ปล่อยเมล็ดให้ปลิวออกไปตกยังสถานที่อันเหมาะสมและขยายพันธุ์ต่อไป

 Picture 011

Picture 024

Picture 031

คาดว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้จะยังคงอยู่ต่อไป เพราะบริเวณที่พบอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง และอยู่ในป่าดิบบนภูเขาสูง ซึ่งยากแก่การเข้าไปทำลาย

ทั้งนี้คาดหวังว่าการประกาศชื่ออย่างเป็นทางการของหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดใหม่นี้จะสำเร็จในเร็ววัน

ขากลับลงจากเขา พวกเรายังต้องเปียกปอนกับฝนที่ตกกระหน่ำลงมาจนตัวเปียกปอนไปหมด แต่ก็ช่วยให้คลายร้อน คลายเหนื่อยไปได้อย่างมากเลยทีเดียว…

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ไม่มีหมวดหมู่ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น