N. smilesii บนภูคิ้ง อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ

ท่านใดต้องการอ่านเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางเชิญอ่านที่ครับ

http://trongtham.spaces.live.com/blog/cns!E1BF28D8280B1300!2006.entry

ส่วนบล๊อกนี้ผมจะเก็บเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงเท่านั้นนะครับ

สำหรับภูคิ้ง ที่นี่มีหม้อข้าวหม้อแกงลิง N. smilesii ซึ่งภาษาถิ่นที่นี่เรียกว่า “บั้งเต้าแล่ง” อันมีความหมายว่า กระบอกน้ำที่มีน้ำในหน้าแล้ง บริเวณยอดภูที่พบ มี 2 ที่ด้วยกัน หนึ่งคือ แหลหินเงิบ ซึ่งอยู่ห่างจากยอดภูคิ้งประมาณ 3 กม. ภูมิประเทศบริเวณนี้ เป็นทุ่งหญ้าสะวันน่า บริเวณขอบผามีความสูงกว่า และลาดลงช่วงกลางของที่ราบ ซึ่งมีลำธารเล็ก ๆ ไหลให้ความชุ่มชื้น แต่บริเวณที่หม้อข้าวหม้อแกงลิงอยู่นั้น เป็นบริเวณซึ่งโล่งแจ้ง พื้นดินทรายค่อนข้างแห้ง ปะปนด้วยลานหินและก้อนหินขนาดใหญ่ มีไม้พุ่มขึ้นประปราย ที่พบมากจะเป็น ผักเม็ก และ ม้ากระทืบโรง ปะปนกับหญ้าเพ็ก หยาดน้ำค้าง ฯลฯ

ลองมาดูความหลากหลายของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่นี่กันดีกว่า

ลำต้น

Picture 075 Picture 076 Picture 080Picture 106 Picture 104 Picture 114Picture 115 Picture 092 Picture 093 

หม้อล่าง

Picture 072 Picture 073 Picture 083 Picture 084

Picture 116Picture 078 Picture 088 Picture 089 Picture 095

Picture 113 Picture 111

หม้อบน

Picture 074 Picture 077 Picture 079 Picture 085

Picture 086 Picture 091 Picture 087 Picture 094

Picture 098 Picture 097 Picture 103

ดอก

Picture 082 Picture 101 Picture 112   

และที่นี่ ผมได้สังเกตเห็น อาณาจักรสัตว์ผู้อาศัย Infuana คือ แมงมุมชนิดหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ภายในหม้อ และกินซากเหยื่อที่หม้อจับได้อีกทีหนึ่ง

 Picture 090 Picture 096 Picture 117

บริเวณที่ 2 ที่พบ คือ แหลหินจ้อง หรือ ลานหินตั้ง อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานภูคิ้งเพียง 500 ม. บริเวณนี้ มีลำธารขนาดใหญ่ไหลผ่าน ทำให้ดูมีความชุ่มชื้นมากกว่า แต่ส่วนที่อยู่ห่างจากลำธารก็ดูแห้งแล้งบ้างเหมือนกัน

ลำต้นทรงพุ่ม

  Picture 173 Picture 174 Picture 160

หม้อล่าง บริเวณนี้ มีสีสันสดใสกว่า โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้ลำธาร

 Picture 180 Picture 201 Picture 206 Picture 200

หม้อก้ำกึ่ง Intermediate

 Picture 170 Picture 176 Picture 165 Picture 171

 Picture 162 Picture 163 Picture 177 Picture 175

 Picture 159 Picture 166 Picture 161 Picture 172

หม้อบน

 Picture 169 Picture 164 Picture 178 Picture 208

 Picture 182 Picture 183 Picture 207 Picture 179

Picture 205 Picture 199 

ดอกเพศเมีย ซึ่งกำลังแตกฝัก เยอะมาก ๆ

Picture 167 Picture 168 Picture 157 Picture 158      

บริเวณนี้ ผมก็สังเกตเห็นแมงมุมซึ่อาศัยในหม้อเช่นเดียวกัน

Picture 198    

และช่วงเช้า ดูจะเป็นเวลาอาหาร เพราะจะเห็นได้ว่ามีมดจำนวนมากมาตอมหม้อในช่วงนี้ พอแดดแรงแล้วมันคงจะร้อนเกินไปสำหรับพวกมด

 Picture 203  Picture 202

สำหรับภูคิ้งแล้วก็เป็นอีกที่หนึ่งที่มีหม้อข้าวหม้อแกงลิง N. smilesii จำนวนมาก แต่เมื่อเทียบกับความลำบากในการเดินทางแล้ว ถ้าใครอยากศึกษา ผมแนะนำที่ภูกระดึง หรือทุ่งโนนสนจะสะดวกกว่าครับ เพราะสำหรับผมเองก็ขอยอมรับว่า มาที่นี่ครั้งแรก และคงจะเป็นครั้งเดียว เข็ดแล้วครับ เหนื่อยจริง ๆ แล้วพบกันใหม่นะครับ ตอนหน้า ผมจะพาทุกท่านไปดูหม้อข้าวหม้อแกงลิงจากทางภาคใต้บ้างล่ะ จะเป็นที่ใดบ้าง เตรียมตัวติดตามกันได้เลยครับ

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ไม่มีหมวดหมู่ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น